หมอวินิจฉัยมะเร็งตับได้อย่างไร?
อย่างที่ได้บอกไว้เมื่อตอนต้นว่าถ้าตรวจเลือดพบว่าสารบ่งชี้มะเร็ง หรือค่า AFP สูงเกิน 200 มักจะเชื่อได้ว่าอาจเป็นมะเร็งตับ แค่คุณหมอมักจะให้ตรวจด้วยวิธีการตรวจอื่นๆร่วมด้วย เช่น อัลตราซาวด์ , เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ค่าของสารบ่งชี้มะเร็งตับในเลือดไม่สูง การตรวจด้วยอัลตราซาวด์เป็นการตรวจคร่าวๆ ไม่สามารถให้การวินิจฉัยที่ชัดเจนได้เท่าการตรวจด้วย CT SCAN หรือ MRI แต่การตรวจด้วยอัลตราซาวด์สามารถทำได้ง่ายและมีราคาไม่แพงมาก
การตรวจด้วยวิธี PET/CT อาจไม่มีประโยชน์มากนักในการตรวจมะเร็งตับ แต่จะมีประโยชน์ในการตรวจโรคมะเร็งชนิดอื่นๆมากกว่า
ในกรณีที่ค่าเลือดของสารบ่งชี้มะเร็งไม่สูง หรือการตรวจด้วยภาพเช่นการตรวจด้วย CT SCAN หรือ MRI ไม่มีความแน่นอน แพทย์มักจะต้องทำการพิสูจน์จากเนื้อเยื่อของก้อนในตับนั้นๆโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังและตัดชิ้นเนื้อขนาดเล็กๆออกมา นำไปส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Biopsy ในปัจจุบันนิยมทำเพื่อให้เกิดความแน่ใจ รักษาไม่ผิดพลาดและเป็นประโยชน์ต่อการรักษาด้วยวิธีต่างๆในอนาตค และปัจจุบันถือเป็นวิธีการที่ปลอดภัยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำมาก การตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อจะเป็นตัวพิสูจน์ที่แน่นอนที่สุดว่าเราเป็นโรคมะเร็งตับ ไม่ทำให้แพทย์เข้าใจผิด ทั้งนี้จริงๆอาจเป็นโรคอื่นๆของตับ เช่น ก้อนเนื้อของตับชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง หรือมะเร็งท่อน้ำดีในตับ หรือมะเร็งที่กระจายมาจากอวัยวะอื่นๆ โดยที่ไม่มี
รศ.นพ.คมกริช ฐานิสโร
อุปนายกสมาคมรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย
Contact : Tumorrow.com
FaceBook : Tumorrow