การตรวจที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งตับ
แบ่งได้เป็น กรณี คือ กรณีที่ยังไม่มีอาการใดๆ แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิด B หรือ C เรื้อรัง เป็นโรคตับจากสาเหตุต่างๆ มีประวัติคนใน ครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่น้องเป็นมะเร็งตับ อีกกรณี คือ เมื่อสงสัยว่ามีอาการจากโรคมะเร็งตับแล้ว คลำได้ก้อน ตรวจพบค่าเลือดผิดปกติ
การตรวจกรณียังไม่มีอาการใด หรือการตรวจคัดกรอง (Screening)
มักจะใช้วิธีการตรวจ อัลตราซาวด์ ทางช่องท้อง อัลตราซาวด์เป็นการใช้คลื่นเสียงในการตรวจ จึงไม่มีอันตรายใดๆต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยัง ใช้การตรวจเลือด เพื่อหาระดับของโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า AFP (Alpha fetoprotein) ซึ่งมีโอกาสจะตรวจพบสูงกว่าปกติ ในมะเร็งตับได้ถึง 40% การตรวจคัดกรองนี้ แนะนำให้ทำปีละ 2 ครั้ง
การตรวจกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งตับ
มักจะใช้การตรวจเริ่มต้นด้วย อัลตราซาวด์ และตรวจเลือดดูระดับ AFP เหมือนกัน แต่จะมีการตรวจละเอียดเพิ่มเติมด้วยการใช้ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือบาง ครั้งอาจใช้การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อย่างชัดเจน เช่น สามารถบอกขนาด รูปร่าง จำนวน ปริมาณเลือดที่มาเลี้ยง การกัดกิน อวัยวะข้างเคียง การกินเข้าในหลอดเลือดดำ หรือกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ต่อมหมวกไต ปอด หรือกระดูกได้ เมื่อแพทย์มั่นใจแล้วว่าเป็นโรคมะเร็งตับ ก็อาจมีการตรวจอวัยวะอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม่มีการกระจายไปยังอวัยวะที่สำคัญ เช่นการเอกซเรย์ปอด และการสแกนกระดูก (Bone Scan)
อย่างไรก็ตาม การตรวจที่แน่นอน และเชื่อถือได้ 100% คือการตรวจชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งก้อนเนื้อโดยตรง เราเรียกวิธีนี้เป็นภาษาแพทย์ว่า Biopsy
การตรวจชิ้นเนื้อของตับ (Biopsy)
มักจะใช้การตรวจเริ่มต้นด้วย อัลตราซาวด์ และตรวจเลือดดูระดับ AFP เหมือนกัน แต่จะมีการตรวจละเอียดเพิ่มเติมด้วยการใช้ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือบาง ครั้งอาจใช้การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อย่างชัดเจน เช่น สามารถบอกขนาด รูปร่าง จำนวน ปริมาณเลือดที่มาเลี้ยง การกัดกิน อวัยวะข้างเคียง การกินเข้าในหลอดเลือดดำ หรือกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ต่อมหมวกไต ปอด หรือกระดูกได้ เมื่อแพทย์การนำชิ้นเนื้อบางส่วนของก้อนเนื้อ ไปตรวจทางพยาธิวิทยา (นำชิ้นเนื้อไปส่องกล้องจุลทรรศน์ดูลักษณะเซลล์) เป็นการตรวจที่เชื่อถือได้มากที่สุด การตรวจสามารถทำได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด แค่เพียงใช้เข็มที่มีขนาดเล็กสอดผ่านผิวหนังโดยฉีดยาชาเฉพาะที่ และการใช้ อัลตราซาว์ด เป็นตัวนำทางในการสอดเข็มเข้าไปในตับตรงบริเวณก้อนเนื้อ เพื่อให้มีความแม่นยำมากที่สุด การใช้เข็มเพื่อตัดชิ้นเนื้อมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยกว่าการผ่าตัดมาก อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้ตรวจก็จะต้องระมัดระวัง เรื่องเลือดซึมภายในตับ ซึ่งป็นเหตุผลให้แพทย์มักจะให้ผู้ป่วย นอนในโรงพยาบาล หลังการตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็ม
ค่า AFP
ค่า AFP เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง พบในเลือดของทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปี จะพบมากโดยเฉพาะเวลาที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา และหลังจากอายุ 1 ปี ไปแล้ว จะไม่พบ โปรตีนชนิดนี้ในเลือดอีก AFP ย่อมาจากคำว่า Alpha FetoProtein
หากพบค่านี้สูงเกิน 300 หรือ 500 (บางตำรา) จะถือว่ามีโอกาสเป็นโรคมะเร็งตับค่อนข้างแน่นอน โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ชิ้นเนื้อด้วยการตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็ม (Needle Biopsy) ในบางกรณี ผู้ป่วยมะเร็งตับอาจมีค่า AFP ในเลือดไม่เกิน 300 หรือ 500 อาจสูงแค่หลักสิบก็ได้ ซึ่งกรณีเหล่านี้ อาจต้องทำการพิสูจน์ด้วยการตรวจชิ้นเนื้อด้วย
เมื่อมีการรักษาโรคมะเร็งตับแล้ว ค่า AFP อาจจะลดลง เราจึงสามารถใช้ AFP เป็นค่าติดตามผลการรักษาได้
นอกจากพบในโรคมะเร็งของเซลล์ตับแล้ว โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งของเซลล์ตัวอ่อนในระบบสืบพันธุ์ (Germ cell) หรือมะเร็งที่กระจายจากอวัยวะอื่นๆมาที่ตับ อาจมี ค่า AFP ในเลือดสูงก็ได้
การตรวจด้วยอัลตราซาวด์
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ใช้ในการตรวจเบื้องต้น เพื่อค้นหาว่าผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B,C มีภาวะตับแข็งเกิดขึ้นหรือยัง และยังใช้ในการตรวจเบื้องต้นว่าผู้ป่วยที่ เป็นตับแข็งมีมะเร็งตับเกิดขึ้นหรือยัง สามารถตรวจได้แม้มะเร็งจะมีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่ความจำเพาะ หรือความเชื่อถือได้อาจจะไม่สูงมาก อาจจะต้องตรวจเพิ่มเติมโดย วิธีการอื่นๆ
เป็นการตรวจที่ใช้กันมากที่สุดในการช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ โดยมีความจำเพาะ และเชื่อถือได้สูง และยังช่วยบอกรายละเอียดต่างๆได้ดี เช่น ขนาดก้อน จำนวนก้อน ตำแหน่งก้อน การกดทับเส้นเลือด การกดทับอวัยวะใกล้เคียง น้ำในช่องท้อง ต่อมน้ำเหลือง การกระจายไปที่ปอด กระดูกสันหลัง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในการตัดสิน ใจเลือกวิธีการรักษา หรือประเมินผลการรักษาได้
อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วยวิธีนี้ก็มีราคาสูงกว่าการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10 / 20 นาที และต้องงดอาหารก่อนการตรวจ 4 ชั่วโมง
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
โดยมากจะใช้วิธีการนี้ในบางรายหรือบางกรณีเท่านั้น เช่น ไม่สามารถตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แล้วไม่ได้คำตอบ หรือหาข้อสรุป ไม่ได้ การตรวจด้วย MRI ใช้เวลาในการตรวจนานกว่า คือ 30 / 60 นาที แต่ไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนการตรวจ โดยทั่วไปมีราคาค่าตรวจสูงกว่า เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เล็กน้อย
เป็นการตรวจที่รวมกันระหว่างการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กับการตรวจพิเศษด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่เรียกว่า PET Scan มีการฉีดสารชนิดหนึ่งที่เป็นน้ำตาล ที่เรียกว่า FDG ซึ่งจะไปจับตัวอยู่ตรงบริเวณที่เป็นมะเร็ง แล้วเราสามารถสแกนภาพจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ออกมาได้ ทำให้มีความจำเพาะและเชื่อถือได้สูง หากผลการตรวจพบว่า มีการจับตัวของ FDG ในตัวก้อนเนื้อ แต่หากตรวจแล้วไม่มีการจับตัวของ FDG ก็มิได้หมายความว่า จะไม่ได้เป็นมะเร็ง มีผู้ป่วยมะเร็งตับเพียง 50% เท่านั้น ที่ตรวจด้วยวิธีนี้ แล้วมีการจับตัว เราจึงไม่ได้นำวิธีนี้มาใช้ในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น แต่มักใช้ในการติดตามผลการรักษามากกว่า
การตรวจ Bone scan
ขั้นตอนสำคัญในการบอกว่าเป็นมะเร็งตับระยะใด ควรจะได้รับการตรวจ Bone scan หรือการสแกนกระดูก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการกระจายของมะเร็งไปที่กระดูก เพราะถ้า หากมีแล้วหมายถึงระยะของโรคอาจเป็นระยะที่ 4 นั่นเอง การตรวจ Bone scan ควรทำทุกครั้ง ก่อนที่จะเริ่มทำการรักษาใดๆ
การตรวจ Bone scan
มีความจำเป็นในการตรวจดูว่า มีการกระจายของมะเร็งตับมาที่ปอดหรือไม่ ซึ่งถ้ามีจะหมายถึงเป็นมะเร็งระยะที่ 4 แล้ว การตรวจด้วยเอกซเรย์ปอดธรรมดาก็เพียงพอ แต่ การตรวจปอดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะมีความแม่นยำและมีโอกาสผิดพลาดน้อยกว่า
การตรวจควรทำทุกครั้ง ก่อนเริ่มทำการรักษาใดๆ และควรทำต่อเนื่อง อย่างน้อย ปีละ 1 – 2 ครั้ง
Contact : Tumorrow.com
FaceBook : Tumorrow