เมื่อท่านต้องเข้า การรักษาด้วยวิธี TOCE
ความหมาย
เมื่อแพทย์ได้เลือกวิธีการรักษาด้วยวิธีผ่านหลอดเลือดแสดงว่าท่านหรือผู้ป่วยได้รับโอกาสที่ดีในการเข้ารับการรักษา เนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่มีโอกาสที่จะรักษาได้เลย วิธี TOCE เป็นวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัด แต่เป็นการใส่อุปกรณ์การแพทย์ที่เรียกว่า สายสวนหลอดเลือด เข้าไปในร่างกายผ่านหลอดเลือดแดงและให้ยารักษาก้อนเนื้อตับ เฉพาะตรงจุดที่เป็นโรคและมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อยมาก
การเตรียมตัว
ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ผู้ป่วยเข้ามารับการเตรียมตัวที่โรงพยาบาล จะต้องมีการงดอาหารล่วงหน้าอย่างน้อย 4 ชั่วโมง จะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูความพร้อมของตับไตและการแข็งตัวของเลือด รวมทั้งความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด ผู้ป่วยจะได้รับน้ำเกลือและอาจได้รับเลือดในบางกรณี
พยาบาลจะทำการโกนขนบริเวณขาหนีบตรงจุดที่จะมีการฉีดยาชาและใส่สายสวน และจะฉีดยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยก่อนการรักษา หากท่านเคยแพ้ยาหรือแพ้อาหารทะเล โปรดแจ้งกับแพทย์หรือพยาบาลทุกครั้ง
การรักษาด้วยวิธีนี้ ส่วนมากจะมีอาการเจ็บปวดน้อยมาก ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้วิธีดมยาสลบแต่อย่างใด ท่านอาจได้รับเพียงยาแก้ปวดหรือยานอนหลับก่อนเวลารักษาเท่านั้น
วิธีการรักษา
ท่านจะถูกส่งตัวไปยังห้องตรวจเอ็กซ์เรย์หลอดเลือด ซึ่งเป็นห้องที่สะอาด ไร้เชื้อ ภายในห้องจะมีเครื่องเอ็กซ์เรย์หลอดเลือดที่มีลักษณะเป็นตัว C ขนาดใหญ่
เมื่อแพทย์ทำความสะอาดด้วยวิธีไร้เชื้อแล้ว แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ที่ขาหนีบด้านขวาจากนั้นจะทำการใส่สายสวนขนาดเล็ก
(เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2 มม.) เข้าไปในหลอดเลือดแดง และจะใช้วิธีการเอ็กซ์เรย์หลอดเลือด ช่วยในการนำทางสายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดงของตับและเมื่อตรวจพบเส้นเลือดที่ผิดปกติ แพทย์จะฉีดยาที่มีส่วนผสมพิเศษ ซึ่งจะจับตัวอยู่เฉพาะที่และสามารถทำให้ก้อนเนื้อย่อตัวลง จากนั้นทำการฉีดสารอุดกั้นหลอดเลือด เพื่อลดปริมาณเลือด (ซึ่งก็คือสารอาหารและออกซิเจน) ที่จะไปเลี้ยงก้อนเนื้อ
เมื่อให้ยาเสร็จแล้ว แพทย์จะดึงสายสวนออกจากร่างกายและกดตรงบริเวณขาหนีบประมาณ 10 นาที ซึ่งแผลจากการตรวจจะมีขนาดเล็กมากและไม่มีรอยเย็บแต่อย่างใด
การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ
ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้นอนอยู่บนเตียงและเหยียดขาด้านที่มีรอยใส่สายสวนเป็นเวลา 6 ชั่วโมงอาจได้รับอนุญาตให้รับประทานน้ำและอาหารได้หากไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน การปัสสาวะและอุจจาระยังคงต้องทำบนเตียงในระหว่าง 6 ชั่วโมงนั้น พยาบาลจะเปลี่ยนผ้าพันแผลบริเวณขาหนีบให้ในวันรุ่งขึ้น หากผู้ป่วยมีอาการปวดแผลหรือปวดท้อง สามารถขอยาจากเจ้าหน้าที่พยาบาล ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ซึ่งถ้ามีอาการมากสามารถขอยาแก้คลื่นไส้อาเจียนได้
ผลข้างเคียงจากการรักษา
ส่วนมากแล้วค่อนข้างปลอดภัย ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ อาการไข้หลังการรักษา 1-2 วัน ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 40 อาจมีอาการจุกแน่นบริเวณช่องท้องข้างบน
ในบางรายอาจมีอาการปวดบวมบริเวณขาหนีบ บริเวณที่มีการใส่สายสวนซึ่งมักจะหายได้เองในสัปดาห์แรก
ต้องทำบ่อยแค่ไหน
โดยเฉลี่ยจะทำการรักษา 2 หนห่างกัน 1 เดือน โดยก่อนการรักษาครั้งที่ 2 จะมีการตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินการตัดสินใจ และอาจมีการใช้วิธีการรักษาอื่นๆ ร่วมด้วยเช่นการใช้เข็มความร้อน RF
เมื่อท่านต้องรักษามะเร็งด้วยคลื่นความร้อน (RFA)
ข้อมูลเบื้องต้น
มะเร็งตับและมะเร็งปอดยังคงป็นมหันตภัยสำหรับชีวิตคนไทยในปัจจุบัน ยังไม่รวมถึงมะเร็งที่อื่นๆ ที่มีการกระจายมาที่ตับหรือปอดแล้วนั้น ยิ่งทำให้โอกาสในการได้รับการรักษาของผู้ป่วยน้อยลงไปทุกทีทั่วโลกก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน มีผู้ป่วยเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้สูญเสียโอกาสนั้นไป อาจเพราะเป็นในระยะมากเกินกว่าการผ่าตัดจะได้ผลดี หรือ เพราะสภาพร่างกายไม่พร้อมต่อการผ่าตัด โชคดีที่วงการแพทย์ในระยะ 20 ปี ที่ผ่านมาได้พัฒนาเครื่องมือที่เข้ามาช่วยชีวิตผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก เช่น การฉายแสง การให้เคมีบำบัด หรือ การรักษาด้วยยาก็ตาม ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ได้มีความพยายามอย่างมากในการพัฒนาการรักษาที่ให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัดโดยใช้วิธีไม่ผ่าตัด หนึ่งในวิธีนั้นคือ การรักษาผ่านผิวหนังด้วยการสอดเข็ม โดยอาศัยครื่องมือ เช่น อัลตราซาวน์ หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการนำทาง ซึ่งเมื่อปลายเข็มอยู่ในตัวก้อนภายในอวัยวะที่จะทำการรักษาแล้ว แพทย์จะสามารถทำการรักษาด้วยวิธีอีกหลายวิธี พลังงานคลื่น RF (Radio Frequency) เป็นพลังงานที่สามารถส่งความร้อนผ่านปลายเข็มให้กระจายออกในลักษณะรูปทรงต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการตายของเซลล์มะเร็งอย่างถาวร ให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกได้ การใช้เข็ม RF ในการรักษาปัจจุบันใช้กับก้อนเนื้องอกที่ตับ ขนาดไม่เกิน 4 ซม. และมีจำนวนไม่เกิน 4 ก้อน รวมทั้งใช้กับก้อนเนื้อที่ปอดที่มีขนาดไม่เกิน 3 ซม. ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องการหลีกเลี่ยงการผ่าตัดเรายังสามารถใช้วิธีการนี้ในการรักษาก้อนเนื้อที่ไต ต่อมหมวกไต และกระดูกได้เช่นเดียวกัน
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี RF คือ เราสามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดใหญ่ ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ แต่ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่หรือยานอนหลับ ภายหลังการรักษาจะมีเพียงแผลขนาดเล็กๆ หรืออาจไม่เห็นรอยแผลเป็นเลยในอนาคต ท่านอาจพักในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน และกลับไปทำกิจกรรมหรือทำงานได้ตามปกติภายในเวลาอันรวดเร็ว โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำมากเมื่อเทียบกับการผ่าตัด ทั้งนี้เพราะนอกจากจะลดโอกาสเสี่ยงในการดมยาสลบแล้ว โอกาสในการเสียเลือดหรือการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายก็เกิดขึ้นน้อยมาก ในกรณีการรักษาที่ตับ โอกาสในการตกเลือดในช่องท้องเกิดได้เพียงร้อยละ 3 แต่ส่วนใหญ่จะหยุดได้เอง ในกรณีการรักษาที่ปอดมีโอกาสเกิดลมรั่ว ในเยื่อหุ้มปอดได้ประมาณร้อยละ 10 ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการสอดท่อระบายลม โดยทั่วไปการรักษาจะทำเพียงครั้งเดียว มีบางรายอาจต้องมีการทำซ้ำในครั้งที่สองเพื่อให้ก้อนเนื้อตายอย่างสมบูรณ์ ผลการรักษาในก้อนเนื้อที่ตับให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด ในขณะที่ภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่ามาก ส่วนการรักษาที่ปอดเมื่อทำร่วมกับการรักษาอื่นๆ เช่น การฉายแสง และการให้เคมีบำบัด จะให้ผลการรักษาที่ดีมากเช่นเดียวกัน นี่เป็นอีกทางเลือกซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เป็นความหวังหนึ่งในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง การรักษามะเร็งด้วยการฝังเข็มคลื่นความร้อน สามารถให้การรักษาได้ในมะเร็งตับ และมะเร็งปอด
การปฏิบัติตัวก่อน-หลัง / การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- งดอาหารและน้ำ ล่วงหน้าประมาณ 4 ชั่วโมง
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการแนะนำให้มาเตรียมตัวล่วงหน้าที่โรงพยาบาล และอาจได้รับการตรวจเลือดเพื่อค้นหาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และโปรดแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากท่านมีประวัติเลือดออกผิดปกติ หรือกำลังรับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน คูมาคิน หรือรับประทานอาหารเสริม เช่น พริมโรสออยล์
- ผู้ป่วยอาจได้รับน้ำเกลือก่อนการตรวจ
- การได้รับข้อมูล และคำแนะนำอย่างถูกต้องจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ โดยเมื่อมีข้อสักถามสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากแพทย์และพยาบาล พร้อมทั้งต้องมีการลงนามเอกสารเพื่อยินยอมให้ทำการตรวจก่อนทุกครั้ง
ขั้นตอนการตรวจ
- หลังจากเจ้าหน้าที่ได้นำผู้ป่วยไปยังห้องตรวจ ซึ่งเป็นห้องอัลตราซาวน์ด หรือ ห้องเอกซเรย์ ชนิด fluoroscopy หรือห้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้เครื่องมือในการนำทางเพื่อสอดเข็มเข้าไปในอวัยวะที่ต้องการตรวจ
- ผู้ป่วยจะได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนผิวหนัง ตรงบริเวณที่จะทำการตรวจด้วยวิธีไร้เชื้อ
- แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- จากนั้นแพทย์จะทำการสอดเข็มผ่านผิวหนังเพื่อเข้าไปยังตำแหน่งก้อนเนื้อที่ต้องการ โดยแพทย์สามารถมองเห็นเข็มที่สอดใส่ไปในอวัยวะอย่างชัดเจน ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นอัลตราซาวน์ด หรือ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้แพทย์มั่นใจได้ว่าตรงตำแหน่งที่ต้องการ
- จากนั้นจะให้พลังงานที่เรียกว่า Radio Frequency (RF) ผ่านเข็มเข้าสู่ก้อนเนื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนภายในตัวก้อนเนื้อโดยจะได้รับ อุณหภูมิสูงเกือบ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 20-40 นาที (ขึ้นกับขนาดและจำนวนของตัวก้อนนั้น) ซึ่งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกร้อนบ้างแต่ไม่มากนัก หรือบางครั้งแพทย์อาจจะให้ยานอนหลับและยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการร้อนได้
- หลังจากการตรวจท่านจะมีแผลเล็ก (ซึ่งอาจจะมองไม่เห็น) และปิดทับด้วยผ่าพันแผล และอาจรู้สึกปวดบริเวณแผลเล็กน้อย เท่านั้น
- ในบางกรณีเท่านั้นที่อาจต้องนอนทับรอยแผลเป็นเวลา 1-2 ชม. เพื่อป้องกันการเลือดออก ซึ่งหลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้ตามปกติ และสามารถรับประทานอาหารได้ตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตามในกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลก็เพื่อให้แพทย์และพยาบาลได้สังเกตอาการอีก 1 คืน เมื่อความปลอดภัยของผู้ป่ว
การปฏิบัติตัวภายหลังการตรวจ
ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ตามปกติและเปลี่ยนผ้าพันแผล โดยปิดพลาสเตอร์ปิดแผลขนาดเล็กไว้อีก 1-2 วัน โดยไม่ต้องมีการทำความสะอาดแผลหากมีอาการปวดให้ทานยาแก้ปวด แต่หากแผลมีลักษณะอักเสบหรือ
เมื่อท่านต้องเข้าการตรวจด้วยวิธีการตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก (Needle Biopsy)
ข้อมูลเบื้องต้น
แม้ว่าการวินิจฉัยโรคในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีก้าวหน้ามากเพียงใด แต่ในบางครั้งการตรวจด้วยวิธีการเหล่านั้น เช่น การตรวจเลือด การเอกซเรย์ ก็ไม่สามารถให้คำตอบที่เพียงพอต่อการรักษาโรคได้ การนำเนื้อเยื่อเล็กๆ หรือ ของเหลวเพียงบางส่วนจากอวัยวะภายในร่างกายของผู้ป่วยมาทำการวินิจฉัยด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ หรือวิธีทางพยาธิวิทยาจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการบอกว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไรและแพทย์จะสามารถวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุดต่อไปอย่างไร
โชคดีที่ในปัจจุบันเราไม่ต้องทำการผ่าตัดเมื่อนำเนื้อเยื่อภายในร่างกายออกมาอีกแล้ว ทำให้เราหลีกเลี่ยงการดมยาสลบ, การมีแผลผ่าตัด และการนอนในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน จากการพัฒนาของเทคโนโลยี 2 ประการ คือ เทคโนโลยีการวินิจฉัย และเทคโนโลยีของเข็มชนิดพิเศษที่ใช้ในการตัดชิ้นเนื้อ ทำให้เราสามารถทำการผ่าตัด ดูดชิ้นเนื้อ ได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัย และไม่ต้องผ่าตัด
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา
โดยทั่วไปในการตรวจเพื่อตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็มจะมีความปลอดภัยสูง เพราะใช้เพียงเข็มขนาดเล็ก อีกทั้งการมีเครื่องมือทางรังสีวินิจฉัยในการนำทางทำให้หลีกเลี่ยงการมีผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญ โดยเฉพาะหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี
โอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อย เช่น รอยช้ำจากก้อนเลือด หรือเลือดออกในปริมาณไม่มากบริเวณแผล ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นได้ เช่น การตกเลือดภายในอาจพบได้ไม่เกินร้อยละ 5-10 ซึ่งมีน้อยรายมากที่ต้องได้รับการให้เลือดทดแทน กรณีการเกิดชิ้นเนื้อที่ปอดอาจเกิดภาวะลมรั่วในเนื้อเยื่อหุ้มปอดได้ ประมาณร้อยละ 10 ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการและไม่ต้องให้การรักษาใดๆ
การปฏิบัติตัวก่อน-หลัง การเตรียมตัวก่อนการตัดชิ้นเนื้อ
- งดอาหารและน้ำ ล่วงหน้าประมาณ 4 ชั่วโมง
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการแนะนำให้มาเตรียมตัวล่วงหน้าที่โรงพยาบาล และอาจได้รับการตรวจเลือดเพื่อค้นหาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และโปรดแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากท่านมีประวัติเลือดออกผิดปกติ หรือกำลังรับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน คูมาคิน หรือรับประทานอาหารเสริม เช่น พริมโรสออยล์
- ผู้ป่วยอาจได้รับน้ำเกลือก่อนการตรวจ
- หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานโปรดแจ้งแพทย์ให้ทราบ
- การได้รับข้อมูล และคำแนะนำอย่างถูกต้องจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ โดยเมื่อมีข้อสักถามสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากแพทย์และพยาบาล พร้อมทั้งต้องมีการลงนามเอกสารเพื่อยินยอมให้ทำการตรวจก่อนทุกครั้ง
ขั้นตอนการตรวจ
- หลังจากเจ้าหน้าที่ได้นำผู้ป่วยไปยังห้องตรวจ ซึ่งเป็นห้องอัลตราซาวน์ด หรือ ห้องเอกซเรย์ ชนิด fluoroscopy หรือห้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้เครื่องมือในการนำทางเพื่อสอดเข็มเข้าไปในอวัยวะที่ต้องการตรวจ
- ผู้ป่วยจะได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนผิวหนัง ตรงบริเวณที่จะทำการตรวจด้วยวิธีไร้เชื้อ
- แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- จากนั้นแพทย์จะทำการสอดเข็มผ่านผิวหนังเพื่อเข้าไปยังอวัยวะที่ต้องการโดยแพทย์สามารถมองเห็นเข็มที่สอดใส่ไปในอวัยวะอย่างชัดเจน ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นอัลตราซาวน์ด หรือ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้แพทย์มั่นใจได้ว่าตรงตำแหน่งที่ต้องการ
- เข็มที่ใช้ในการตัดชิ้นเนื้อจะมีขนาดเล็กกว่า 2 มิลลิมตร (เล็กกว่าปลายปากกา) และจะมีระบบพิเศษในการตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ ออกมา ซึ่งเพียงพอต่อการวินิจฉัย โดยกล้องจุลทรรศน์ และชิ้นเนื้อเหล่านี้จะถูกแช่ด้วยน้ำยาพิเศษ เพื่อส่งไปยังพยาธิแพทย์ให้เป็นผู้ให้การวินิจฉัยต่อไป
- หลังจากการตรวจท่านจะมีแผลเล็ก (ซึ่งอาจจะมองไม่เห็น) และปิดทับด้วยผ่าพันแผล และอาจรู้สึกปวดบริเวณแผลเล็กน้อย เท่านั้น
- ในบางกรณีเท่านั้นที่อาจต้องนอนทับรอยแผลเป็นเวลา 1-2 ชม. เพื่อป้องกันการเลือดออก ซึ่งหลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้ตามปกติ และสามารถรับประทานอาหารได้ตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตามในกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลก็เพื่อให้แพทย์และพยาบาลได้สังเกตอาการอีก 1 คืน เมื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
การปฏิบัติตัวภายหลังการตัดชิ้นเนื้อ
ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ตามปกติและเปลี่ยนผ้าพันแผล โดยปิดพลาสเตอร์ปิดแผลขนาดเล็กไว้อีก 1-2 วัน โดยไม่ต้องมีการทำความสะอาดแผลหากมีอาการปวดให้ทานยาแก้ปวด แต่หากแผลมีลักษณะอักเสบหรือบวมให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบเพื่อพิจารณาการรักษาต่อไป
Contact : Tumorrow.com
FaceBook : Tumorrow