การรักษามะเร็งตับด้วยสารกัมมันตภาพรังสี

การรักษามะเร็งตับด้วยสารกัมมันตภาพรังสี

การรักษามะเร็งตับด้วยสารกัมมันตภาพรังสี

เป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่ เหมาะสมกับมะเร็งตับที่มีการรุกลามเข้าไปในหลอดเลือดดำของตับ(แต่การทำงานของตับยังพอใช้ได้อยู่) หลักการรักษาคล้ายกับการทำTOCE หรือ TACE คือมีการสอดสายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดงของตับที่เลี้ยงก้อนเนื้อ แล้วทำการฉีดสารกัมมันตภาพรังสีที่เรียกว่า Yttrium (ยิตเทรียม)เข้าไป ซึ่งสารดังกล่าวจะเปล่งรังสีชนิดเบต้า ตรงก้อนเนื้อและออกฤทธิ์ในช่วงไม่กี่ชั่วโมง จากนั้นจะสลายตัวไปเอง ไม่มีการตกค้างอยู่ในร่างกาย

การรักษาวิธีนี้บางคนอาจเรียกว่า Radioembolization หรือ SIRT (Selective internal Radiation therapy) ซึ่งอาจมีราคาค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องนำเข้าสารกัมมันตภาพรังสี และอุปกรณ์จากต่างประเทศ เพื่อนำเข้ามาฉีดให้ผู้ป่วยเป็นรายๆไป ขั้นตอนการทำมีความยุ่งยากมากกว่าการรักษา TOCE โดยเฉพาะต้องมีการตรวจโดยการฉีดสีดูเส้นเลือดตับและทดสอบว่าสามารถทำการรักษาได้โดยไม่มีผลข้างเคียง เมื่อแน่ใจแล้วจึงจะมานอนโรงพยาบาลอีกครั้งในสัปดาห์ต่อมาเพื่อทำการรักษา

ผลข้างเคียงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นใส้ อาเจียนใน1-2 วันแรกหลังการรักษา ส่วนผลการรักษาใกล้เคียงกับการรักษาด้วย TOCE แต่สามารถทำได้ในกรณีทีโรคได้กินเข้าในหลอดเลือดดำแล้ว ซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยวิธี TOCE ได้

รศ.นพ.คมกริช ฐานิสโร

Contact : Tumorrow.com
FaceBook : Tumorrow

Share Facebook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *